วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ประวัติพระราชาคณะอำเภออรัญประเทศ


ประวัติพระราชาคณะอำเภออรัญประเทศ
---------------------
                 
                 พระราชาคณะ หมายถึง พระภิกษุที่ได้รับสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ตั้งแต่ชั้นสามัญจนถึงชั้นสมเด็จพระราชาคณะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า พระสังฆราชาคณะ หมายความว่า เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ ต่อมาในสมักรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนเป็นพระราชาคณะ ความหมายยังคงเดิม มีคำนำหน้าราชทินนามว่า “พระ” แต่ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่าเจ้าคุณหรือท่านเจ้าคุณ ถ้าเป็นสมเด็จพระราชาคณะเรียกว่า ท่านเจ้าประคุณ แยกเป็นลำดับดังนี้ -
             ๑.  สมเด็จพระราชาคณะ (ชั้นสุพรรณบัฏ)
             ๒.  พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (ชั้นหิรัญบัฏ)
             ๓.  พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (ชั้นสัญญาบัตร)
             ๔.  พระราขาคณะชั้นธรรม
             ๕.  พระราชาคณะชั้นเทพ             
             ๖.  พระราชาคณะชั้นราช
             ๗.  พระราชาคณะชั้นสามัญ ซึ่งแบ่งตามลำดับเป็น -
·     พระราชาคณะปลัดขวา ปลัดซ้าย
·     พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
·     พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญธรรม ๙, ๘, ๗, ๖, ๕, ๔ และเปรียญธรรม ๓ ตามลำดับ
·     พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
·    

  
 
พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ
·     พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
·     พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก
      อีกทั้งพระราชาคณะสามารถแต่งตั้งฐานานุกรม เพื่อช่วยงานด้านต่างๆได้ ซึ่งพระราชาคณะชั้นสามัญมี ๓ ฐานานุกรม คือ พระปลัด พระสมุห์ และพระใบฎีกา ส่วนพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไปก็จะมีฐานานุกรม ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาบัตรและสุพรรณบัฏ
บทบาทพระราชาคณะกับอัตลักษณ์การพัฒนา
            อำเภออรัญประเทศ (เดิมเขียนว่า อรัญญประเทศ) ตามประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ซึ่งปรากฏในประชุมพงศาวดารหอสมุดแห่งชาติ ทรงโปรดให้ยกบ้านเรือนชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่มากขึ้นเป็นเมืองในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ (ร.ศ. ๑๒๒) ชุมชนบ้านเรือนประชาชนที่อยู่แถบเชิงเทือกเขาบรรทัด (เดิมเรียกว่า เชิงเขาประทัด) มีทั้งสิ้น ๒๘ เมือง เช่นมีเขตชุมชนบ้านด่านหนุมาน ยกขึ้นเป็น “เมืองกบินทร์บุรี” จนถึงเขตชุมชนบ้านดงอรัญหรือบ้านอรัญทุ่งแค ยกขึ้นเป็น “เมืองอรัญญประเทศ” ก่อนมีสถานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ (ร.ศ. ๒๐๑) เมืองอรัญ(ญ)ฯ ซึ่งเป็นชุมชนเมืองที่มีการอพยพและตั้งรกรากของชาวลาวหรือครัวลาวที่มาจากเวียงจันทร์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ที่ทำกิน ลักษณะการเป็นอยู่ถึงจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ยังมีที่ไม่เปลี่ยน คือ “วัฒนธรรม ประเพณี” อันเห็นได้จากลักษณะภาษา หรือประเพณีบางอย่างของชาวลาว เช่น พิธีแห่ปราสาทผึ้ง เป็นต้น โดยอาศัยพระสงฆ์และผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้บอกเล่าผ่านวัฒนธรรม ประเพณี เหล่านั้น หรืออาจได้เรียกว่า “ทุกถิ่นฐานประชา มีสายธารวัฒนธรรมบรรพชน” พระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะที่มีบทบาทต่อการสร้างอัตลักษณ์การพัฒนาในอดีตที่ผ่านมามี ๓ รูป คือ-


            รูปที่หนึ่ง พระอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี อินทฺโชโต) นามเดิม ลี จันทร์ชู เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๓๘ ณ บ้านโนนสาวเอ้ เมืองอรัญญประเทศ (ตำบลคลองน้ำใสอำเภออรัญประเทศ) เป็นบุตรของนายอ่าง นางผุย จันทร์ชู เมื่ออายุ ๑๔ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโคกสะแบง เมืองอรัญญประเทศ (ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ) มีพระครูวัน (พระหลักคำ) วัดสุทธาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ณ พัทธสีมาวัดสุทธาวาส โดยมีพระครูวัน เจ้าคณะแขวงอรัญ วัดสุทธาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณลีได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ราชทินนามที่ “พระอรัญประเทศคณาจารย์” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ท่านมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเมืองอรัญฯ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาของลูกหลานชาวเมืองอรัญฯ การสาธารณูปการ เช่น การริเริ่มสร้างศาลหลักเมืองอรัญฯ การสร้างและพัฒนาวัดให้เป็นศาสนสถานแหล่งรวมจิตวิญญาณ สายธารวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนา เช่น สร้างวัดหลวงอรัญญ์ ส่งเสริมให้ภิกษุสามเณร เด็กเยาวชน ได้มีโอกาสทางการศึกษาโดยให้วัดเป็นศูนย์กลาง จนเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดหลวงอรัญญ์ จนบางคนบางท่านถึงกับเอ่ยปากว่า “ได้เห็นในหลวงเพราะเจ้าคุณลี”


             รูปที่สอง พระราชธรรมภาณี (สุนาถ ติกฺขวีโร) นามเดิม สุนาถ เกิดน้ำใส เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ เมษายน ๒๔๗๘ ณ บ้านคลองน้ำใส ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศเป็นบุตรของนายบาง นางวันนา เกิดน้ำใส เมื่ออายุ ๑๖ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโคกสะแบง ตำบลท่าข้าม มีพระครูอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี) วัดหลวงอรัญญ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พัทธสีมาวัดหลวงอรัญญ์ มีพระอรัญประเทศคณาจารย์ (ลี) วัดหลวงอรัญญ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณสุนาถท่านเป็นผู้ใฝ่ใจเรื่องการศึกษาและการพัฒนาบุคคล ท่านเป็นเปรียญ ๔ ประโยค และยังเข้ารับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จนจบหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ส่วนการปกครองเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ และเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว ท่านเป็นผู้ผลักดันสนับสนุนให้เกิดการศึกษาของพระสงฆ์ในจังหวัดสระแก้วขึ้น โดยเปิดให้มีหน่วยวิทยบริการ มจร. ที่วัดสระแก้ว (พระอารามหลวง) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญธรรม ๔ ราชทินนามที่ “พระโสภณพุทธิธาดา” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และโปรดเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นราช ราชทินนามที่ “พระราชธรรมภาณี” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑

             รูปที่สาม พระสิริวุฒิเมธี (สมพร กนฺตาโภ) นามเดิม สมพร พงษ์ศรี เกิดเมื่ออาทิตย์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๙๙ ณ บ้านเหล่าอ้อย ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ เป็นบุตรของนายลี นางมาก พงษ์ศรี อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ณ พัทธสีมาวัดหลวงอรัญญ์ มีพระครูพรหมวิริยคุณ (พรหมา) วัดโคกสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณสมพรเป็นผู้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาบุคลากรของพระพุทธศาสนาและการศึกษาของพระสงฆ์ ท่านเป็นเปรียญ ๗ ประโยค ส่วนการปกครองเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญธรรม ๗ ราชทินนามที่ “พระสิริวุฒิเมธี” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐
-------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
จรูญ พัฒนศร. (๒๕๑๕) ประวัติเมืองอรัญประเทศ ; อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเลิศชัย จำปาเทศ พ.ศ. ๒๕๔๒.
พิศิษฐ์ งามงด. (มปป.) ประวัติพระอรัญญประเทศคณาจารย์ (ลี จันทร์ชู). เอกสารถ่ายสำเนา.
พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์). (๒๕๕๒) ประวัติจังหวัดสระแก้ว ; ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระราชปริยัตยาจารย์ (เส็ง). กรุงเทพมหานคร : โรง 
  พิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
ขอขอบคุณข้อมูล
               พระเดชพระคุณพระพระราชธรรมภาณี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว, พระเดชพระคุณพระสิริวุฒิเมธี รองเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว และผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอรัญฯ ทุกท่านที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา ฯ


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

คำขอบรรพอุปสมบทแบบอุกาสะ

คำขอบรรพอุปสมบทแบบอุกาสะ

(สำหรับผู้ที่เข้านาคไม่ทัน)
คำขอบรรพชา
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต, มะยา  กะตัง ปุญญัง สามินา  
อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อนุโมทามิ/
อุกาสะ การุญญัง กัตะวา, ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต/
นั่งคุกเข่า ประนมมือ กล่าวว่า
อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ/
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ/
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ/
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ, อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง  ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ/  (กล่าว ๓ จบ)
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะ,นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ, เอตัง กาสาวัง  ทัตะวา,  ปัพพาเชถะ มัง ภันเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ/ (กล่าว ๓ จบ)
ลำดับนี้พระอุปัชฌาย์จะให้มูลกัมมัฏฐานตามแบบประเพณีที่ทำสืบกันมา โดยว่าตามดังนี้
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ        (นี้เรียกว่า อนุโลม)
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา        (นี้เรียกว่า ปฏิโลม)
 คำขอสรณคมน์และศีล
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต, มะยา  กะตัง ปุญญัง สามินา 
อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อนุโมทามิ/
อุกาสะ การุญญัง กัตะวา, ติสะระเณนะ สะหะ สีลานิ เทถะ เม  ภันเต/
อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ/
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ/
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ/
ลำดับนี้พระอาจารย์จะกล่าวคำนำให้นาคกล่าวตาม
 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
          พระอาจารย์กล่าวว่า ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทถ
          ให้นาครับว่า อามะ ภันเต
จากนั้นพระอาจารย์ จะให้ สรณคมน์ และศีลให้นาคกล่าวตามดังนี้
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.
พระอาจารย์กล่าวว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง  ให้นาครับว่า อามะ ภันเตพระอาจารย์จะกล่าวนำศีล ๑๐ ให้กล่าวตามทีละบท ดังนี้
(๑) ปาณาติปาตา เวระมะณี/  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๒) อะทินนาทานา เวระมะณี/ สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๓) อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี/ สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๔) มุสาวาทา เวระมะณี/  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๕) สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี/
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๖) วิกาละโภชะนา เวระมะณี/  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๗) นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสสะนา เวระมะณี/ 
สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๘) มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี/ สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
(๙) อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี/  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ/
 (๑๐) ชาตะรูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะณา เวระมะณี/ สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ/
แล้วท่านจะกล่าว  อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (๓ ครั้ง) ให้เรารับว่า “อามะ ภันเต” ทั้ง ๓ ครั้ง แล้วคุกเข่ากราบ ๓ ครั้ง
คำขอนิสัย
อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต, มะยา  กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง, สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง, สาธุ สาธุ อนุโมทามิ/
อุกาสะ การุญญัง กัตะวา, นิสสะยัง  เทถะ เม  ภันเต/
อะหัง  ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ/
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ/
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ/
เสร็จแล้วให้ว่า  อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (๓ ครั้ง)
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า       สามเณรรับว่า
ปะฏิรูปัง                    อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ
โอปายิกัง                   สัมปะฏิจฉามิ
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ      สัมปะฏิจฉามิ
เสร็จแล้วให้ว่า อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร//  อะหัมปิ     เถรัสสะ ภาโร// (๓ ครั้ง)
เมื่อท่านกล่าวสอนและบอกความหมายของอุปัชฌาย์แล้วท่านก็จะบอกบริขาร
คำบอกบริขาร
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า      สามเณรรับว่า
อะยันเต ปัตโต              อามะ ภันเต
อะยัง สังฆาฏิ               อามะ ภันเต
อะยัง อุตตะราสังโฆ         อามะ ภันเต
อะยัง อันตะระวาสะโก      อามะ ภันเต
 
คำถามอันตรายิกธรรม
พระคู่สวดถาม              สามเณรตอบรับว่า
กุฏฐัง                       นัตถิ ภันเต
คัณโฑ                      นัตถิ ภันเต
กิลาโส                      นัตถิ ภันเต
โสโส                        นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร                   นัตถิ ภันเต
มะนุสโสสิ๊                   อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊                      อามะ ภันเต
ภุชิสโสสิ๊                   อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊                   อามะ ภันเต
นะสิ๊ราชะภะโฏ              อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ    อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊     อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต
กินนาโมสิ                   อะหัง ภันเต (บอกฉายา..........) นามะ
โก นามะ เต อุปัชฌาโย     อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสะมา
                   (บอกฉายาอุปัชฌาย์...............) นามะ 
คำขออุปสมบท
สังฆัมภันเต, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ/
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง, อุปะสัมปะทัง ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ/
ตะติยัมปิ ภันเต  สังฆัง, อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ, อุลลุมปะตุ มัง
ภันเต สังโฆ, อะนุกัมปัง อุปาทายะ/
(จบคำสำคัญคำขอบรรพชาอุปสมบท)
J0105250
           ดูกร อานนท์ !!
          บุคคลใดมีศรัทธา บรรพชาทาสกรรมกรให้เป็นสามเณร  
          หรือสามเณร มีอานิสงส์ ๔ กัล์ป บวชเป็นภิกษุหรือ
          ภิกษุณี มีอานิสงส์ ๘ กัล์ป   และถ้าอุปสมบทจะได้รับ
          อานิสงส์ ๑๖ กัล์ป
          หากอุปสมบทได้อานิสงส์ ๓๒ กัล์ป
          ถ้าอุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธา
เลื่อมใสจะได้อานิสงส์ถึง ๖๔ กัล์ป
บุคคลใดได้บรรพชาบุตรตนก็ดี บุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ ไปสู่อบายภูมิ
           ( พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องการบรรพชาอุปสมบท ดังนี้ท่านทั้งหลาย : ข้อมูลจากพระไตรปิฎก)
 
   คำขอขมาของนาค
          กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ที่ข้าพเจ้าได้
          ล่วงเกินต่อบุพพการี บิดามารดา และผู้มีพระคุณทั้งหลาย
          รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี เห็นก็ดี ไม่เห็นก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี
          ขอให้ท่านโปรดอโหสิกรรมต่อกรรมนั้นๆ ของข้าพเจ้า
          บัดนี้ข้าพเจ้า จะขอบรรพชาอุปสมบทเพื่อทดแทนพระคุณ
นั้น และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อันเป็นที่รักยิ่งของ
ข้าพเจ้าที่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตสู่สวรรคาลัยด้วย
ผลานิสงส์แห่งการบรพชาอุปสมบทนี้ จงเป็นปัจจัย
อานิสงส์อันยิ่งใหญ่ ให้พระองค์มีพระเกษมสำราญ สถิต
ในทิพยวิมาน ตลอดกาลเป็นนิตย์ เทอญ ฯ

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


เรื่อง “ตาสองข้างกับเรื่องควายรู้-ควายแรง”


ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการเรียนการสอนธรรมะในพระพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอก ทั้งบางที่ก็มีคฤหัสถ์ฆราวาส ที่มีความรู้ความสามารถเรื่องพระพุทธศาสนาสอนธรรมะ ทั้งด้านปริยัติ(งานเขียนประเภทหนังสือ,การสัมมนาการรับฟัง)และปฏิบัติ (การอบรมวิปัสสนา, การปฏิบัติธรรม) หรือแม้กระทั้ง ในสังคมโลกปัจจุบันจะขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมแทบจะจะเรียกว่า “ดอกเห็ด” แต่ก็มองไม่เห็นการใช้ธรรมะที่ชื่อว่า ปัญญา ตัวรู้ถูกผิด และกรุณา ตัวเห็นความทุกข์ในใจคนอื่น

ตามความหมาย คำว่า กรุณา หมายถึง ความสงสารคือปรารถนาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ปัญญา คือความรู้รอบ ที่ทำให้คนเป็นคนเก่ง ให้ความหมายง่ายๆ คือ กรุณาทำให้คนเป็นคนดี มนุษย์ต้องเป็นทั้งคนเก่ง และต้องเป็นคนดีด้วย คือ ต้องมีปัญญาคู่กับกรุณาจึงจะเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ตามหลักธรรม

การศึกษาในระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมักสอนเน้นความรู้ที่เป็นศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ แต่มักขาดการเน้นความรู้เรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศาสตร์ทั้งหลายให้ความรู้ที่ทำให้เป็นคนเก่ง ศาสนาให้ความรู้ที่ทำให้เป็นคนดี การที่จะพัฒนาคนให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดีต้องสอนให้มีความรู้ทั้งศาสตร์และ ศาสนา ดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงกล่าวว่า “Science without religion is lame. Religion without science is blind ศาสตร์ที่ขาดศาสนาย่อมพิกลพิการ ศาสนาที่ขาดปัญญาย่อมมืดบอด

                พระพุทธศาสนาแบ่งมนุษย์ออกเป็น ๓  ประเภท คือ อันธจักขุ คนตาบอด เอกจักขุ คนตาเดียว ทวิจักขุ คนสองตา

ประเภทแรก อันธจักขุ คนตาบอด คือ คนที่ไม่รู้ศาสตร์ใดๆ ทั้งไม่มีความรู้ ในการประกอบอาชีพทางโลก นอกจากนี้ ทั้งเขายังไม่มีความรู้ทางศาสนา ทั้งไม่มีคุณธรรมจริยธรรม เขาจึงขาดดวงตาแห่งปัญญาทั้งสองข้าง ท่านจึงเปรียบเหมือนคนตาบอด ชีวิตจึงมองโลกก็ไปในง่ายร้ายๆ ไปเสียหมด

                ประเภทที่สอง เอกจักขุ คนตาเดียว ก็คือคนที่มีความรู้ทางโลกด้านเดียว เขารู้ศาสตร์ต่างๆมากมาย แต่ไม่รู้เรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรม นี่ท่านเรียกว่า คนตาเดียว จึงทำให้มองคนอื่นด้อยหรือต่ำกว่าตน ชีวิตจึงอยากแต่เพียงนั่งบนหัวคน ไม่คิดจะนั่งในใจคน

ประเภทที่ ๓ ทวิจักขุ คนสองตา คือคนที่มีทั้งปัญญาในทางโลกและปัญญาในทางศาสนา เขาค่อนข้างจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะปกติชีวิตก็ไม่เดือดร้อน ความคิดก็ไม่เป็นภัย อยู่ที่ไหนก็มักจะนั่งอยู่ในใจคน  (เล่มที่ ๒๐/๔๖๘๑๑๖๓ พระไตรปิฏกฉบับบาลีสยามรัฐ)

เรื่องมนุษย์ที่สมบูรณ์นี้ ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่าชีวิตที่สมบูรณ์ก็เหมือนการไถนาด้วยควายสองตัว ในการไถนานั้น คนโบราณเทียมควายสองตัว เหมือนกับชีวิตจะต้องมีตัวนำในการดำรงชีวิตสองอย่างด้วยกัน คือมีตาสองข้าง ตาข้างหนึ่งเป็นความรู้ในทางโลกและอีกข้างหนึ่งเป็นความรู้ในทางธรรม

             ท่านพุทธทาสเล่าว่า คนสมัยโบราณไถนาด้วยควายสองตัวคือควายตัวรู้กับควายตัวแรง ควายตัวรู้เป็นควายแก่มีประสบการณ์สูงในการไถนา รู้ภาษาชาวนาดี มันเดินและหยุด ทำตามคำสั่งของชาวนา ควายตัวนี้มีความรู้แต่ไม่มีแรงลากไถ ชาวนาจึงจับมาเทียมคู่กับควายอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่าควายตัวแรง มันเป็นควายหนุ่มที่มีแรงลากไถแต่ไม่รู้ภาษาชาวนา เมื่อชาวนาออกคำสั่งให้เดิน ควายตัวรู้จะขยับตัวออกเดิน ควายตัวแรงก็ออกแรงลากไถไปด้วยกัน การไถนาสำเร็จได้ด้วยการเทียมควายสองตัวคือตัวรู้กับตัวแรงเข้าด้วยกัน การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็ต้องมีทั้งตัวรู้และตัวแรง  #ตัวรู้คือความรู้ด้านศาสนา #ส่วนตัวแรงคือ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

                ถามว่า  เรื่องควายสองตัวนี้ ตัวไหนควรนำตัวไหน ?

ตอบว่า ควายตัวรู้ต้องนำควายตัวแรง นั่นคือ ศาสนาต้องกำกับการใช้ปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อป้องกันมิให้ปัญญาด้านนี้ถูกใช้ไปเพื่อการผลิตอาวุธทำลายโลก หรือแม้กระทั้งอาวุธคือปาก ความอิจฉาริษยา ศาสนาต้องพัฒนาคุณธรรมคือกรุณาให้มีพลังมากพอที่จะกำกับการใช้ปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดังนี้ท่านแต่งเป็นเป็นบทกลอน ชื่อว่า วัฒนธรรมควายคู่ ดังต่อไปนี้

หลักการสร้างคนรุ่นใหม่ให้สามารถ

ต้องรวมปราชญ์รวมศาสตร์ที่หลากหลาย

ทำงานร่วมรวมพลังทั้งใจกาย

เปรียบดังควายไถนาอยู่เคียงคู่กัน

ควายหนึ่งคือควายแรงเป็นควายรุ่น

ช่วยดันดุนหนุนแรงอย่างแข็งขัน

อุตสาหะมานะสร้างสารพัน

ร่วมผลักดันพร้อมเรียนรู้คู่องค์กร

อีกควายหรือคือควายเฒ่าเรียกควายรู้

 เปรียบดังครูผู้ชี้นำคำสั่งสอน

ประคับช่วยประคองให้ไม่สั่นคลอน

ดุจภัสสรส่องสว่างหนทางไกล

จึงต้องรวมพลังคู่มุ่งสู่หนึ่ง

สร้างควายซึ่งรู้คู่แรงแปลงพันธุ์ใหม่

เติมความรู้คู่หลักคิดเสริมจิตใจ

ควายพันธุ์ไทยก้าวไกลในสากล (พระพรหมบัณฑิต : ประยูร ธมฺมจิตฺโต ศ.ดร.)

อธิบายตามความหมายของบทกลอน เรากำลังเปลี่ยนวัฒนธรรมเก่าไปสู่ใหม่ สังคมเริ่มเปลี่ยนไปสู่การรับรู้ การเรียนรู้ที่กว้างขวาง จนแทบจะไร้ขอบเขต จนเป็นวัฒนธรรมใหม่ หากคนเก่า คนอาวุโสที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งเป็นผู้นำให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคนรุ่นใหม่ ทั้งให้คุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างให้ด้วย เพราะถือว่ามีประสบการณ์ ต้องคอยให้นโยบายให้ความคิด กำหนดทิศทางชีวิต คนรุ่นใหม่ก็เรียนรู้เหมือนกับการรับไม้ต่อ และร่วมกันเป็นแรงผลักดันสังคมที่เราเป็นอยู่ อาจรวมถึงประเทศ หรือศาสนาที่เป็นอยู่นี่  การเสี่ยมสอนของคนเก่าก็เหมือนกับควายรู้ ต้องนำคนหนุ่มสาวซึ่งเป็นควายแรงกลายเป็นตัวรู้ขึ้นมาให้ได้   คนรุ่นหลังจึงจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

               

มีความสุขทุกคนทุกท่าน

                เขียนโดย : พระมหาศราวุธ จิตฺตทนฺโต (น้อยนารี) ป.ธ.๙,ร.ม.

               

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เหรียญสมพร วัดเหล่าอ้อย

เหรียญสมพร
 
ครั้งแรกแห่งการสร้างเหรียญครูบาอาจารย์ ของวัดเหล่าอ้อย
          เนื่องจากการสร้างเหรียญสมพร ก็เพื่อปรารภเหตุ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อเป็นที่ระลึกงานปิดทองฝังลูกนิมิต และ ๒) เพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบ ๖๐ ปี หลวงพ่อสมพร (ท่านเจ้าคุณพระสิริวุฒิเมธี เจ้าอาวาสวัดเหล่าอ้อย และเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ)
 
พิธีพุทธาภิเษก
 
 
วันที่  5 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
หลวงพ่อสนธิ์  ปภสฺสโร วัดทุ่งพระมาอธิษฐานจิตที่พระอุโบสถส์ เวลา 09.09 น.
 
ก่อนพิธีพุทธาเษก เวลา 17.09 น. โดยครูบาอาจารย์ อาทิเช่น
 
 
 
หลวงพ่ออุตตมะ (เส็ง) วัดชนะชัยศรี
 
 
หลวงพ่อเกิ่ล วัดวิหารธรรม 
 

หลวงพ่อคำคูณ วัดคลองหาด  


หลวงพ่อสอน วัดโคกสะพานขาว
 
 
หลวงพ่อคูณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
 
 


                         เมื่อสร้างเสร็จก็ทำลายแม่พิมพ์ และให้มอบให้วัดเพื่อใช้ในการวัดเท่าที่มี และส่วนที่เหลือจากงานก็จะเก็บเป็นสมบัติวัด  ประโยค ๙ สร้าง ขอให้มีความก้าวหน้า และสมพรดังที่คิดและปรารถนา

ก้าวหน้าและสมพรดังชื่อเหรียญ (หลวงพ่อ) ทุกประกาาร พระมหาศราวุธ  จิตฺตทนฺโต ป.ธ.๙  ผู้สร้าง