วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


เรื่อง “ตาสองข้างกับเรื่องควายรู้-ควายแรง”


ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการเรียนการสอนธรรมะในพระพุทธศาสนากันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอก ทั้งบางที่ก็มีคฤหัสถ์ฆราวาส ที่มีความรู้ความสามารถเรื่องพระพุทธศาสนาสอนธรรมะ ทั้งด้านปริยัติ(งานเขียนประเภทหนังสือ,การสัมมนาการรับฟัง)และปฏิบัติ (การอบรมวิปัสสนา, การปฏิบัติธรรม) หรือแม้กระทั้ง ในสังคมโลกปัจจุบันจะขยายโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมแทบจะจะเรียกว่า “ดอกเห็ด” แต่ก็มองไม่เห็นการใช้ธรรมะที่ชื่อว่า ปัญญา ตัวรู้ถูกผิด และกรุณา ตัวเห็นความทุกข์ในใจคนอื่น

ตามความหมาย คำว่า กรุณา หมายถึง ความสงสารคือปรารถนาช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ปัญญา คือความรู้รอบ ที่ทำให้คนเป็นคนเก่ง ให้ความหมายง่ายๆ คือ กรุณาทำให้คนเป็นคนดี มนุษย์ต้องเป็นทั้งคนเก่ง และต้องเป็นคนดีด้วย คือ ต้องมีปัญญาคู่กับกรุณาจึงจะเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ตามหลักธรรม

การศึกษาในระบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมักสอนเน้นความรู้ที่เป็นศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ แต่มักขาดการเน้นความรู้เรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศาสตร์ทั้งหลายให้ความรู้ที่ทำให้เป็นคนเก่ง ศาสนาให้ความรู้ที่ทำให้เป็นคนดี การที่จะพัฒนาคนให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดีต้องสอนให้มีความรู้ทั้งศาสตร์และ ศาสนา ดังที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงกล่าวว่า “Science without religion is lame. Religion without science is blind ศาสตร์ที่ขาดศาสนาย่อมพิกลพิการ ศาสนาที่ขาดปัญญาย่อมมืดบอด

                พระพุทธศาสนาแบ่งมนุษย์ออกเป็น ๓  ประเภท คือ อันธจักขุ คนตาบอด เอกจักขุ คนตาเดียว ทวิจักขุ คนสองตา

ประเภทแรก อันธจักขุ คนตาบอด คือ คนที่ไม่รู้ศาสตร์ใดๆ ทั้งไม่มีความรู้ ในการประกอบอาชีพทางโลก นอกจากนี้ ทั้งเขายังไม่มีความรู้ทางศาสนา ทั้งไม่มีคุณธรรมจริยธรรม เขาจึงขาดดวงตาแห่งปัญญาทั้งสองข้าง ท่านจึงเปรียบเหมือนคนตาบอด ชีวิตจึงมองโลกก็ไปในง่ายร้ายๆ ไปเสียหมด

                ประเภทที่สอง เอกจักขุ คนตาเดียว ก็คือคนที่มีความรู้ทางโลกด้านเดียว เขารู้ศาสตร์ต่างๆมากมาย แต่ไม่รู้เรื่องศาสนา คุณธรรม จริยธรรม นี่ท่านเรียกว่า คนตาเดียว จึงทำให้มองคนอื่นด้อยหรือต่ำกว่าตน ชีวิตจึงอยากแต่เพียงนั่งบนหัวคน ไม่คิดจะนั่งในใจคน

ประเภทที่ ๓ ทวิจักขุ คนสองตา คือคนที่มีทั้งปัญญาในทางโลกและปัญญาในทางศาสนา เขาค่อนข้างจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะปกติชีวิตก็ไม่เดือดร้อน ความคิดก็ไม่เป็นภัย อยู่ที่ไหนก็มักจะนั่งอยู่ในใจคน  (เล่มที่ ๒๐/๔๖๘๑๑๖๓ พระไตรปิฏกฉบับบาลีสยามรัฐ)

เรื่องมนุษย์ที่สมบูรณ์นี้ ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่าชีวิตที่สมบูรณ์ก็เหมือนการไถนาด้วยควายสองตัว ในการไถนานั้น คนโบราณเทียมควายสองตัว เหมือนกับชีวิตจะต้องมีตัวนำในการดำรงชีวิตสองอย่างด้วยกัน คือมีตาสองข้าง ตาข้างหนึ่งเป็นความรู้ในทางโลกและอีกข้างหนึ่งเป็นความรู้ในทางธรรม

             ท่านพุทธทาสเล่าว่า คนสมัยโบราณไถนาด้วยควายสองตัวคือควายตัวรู้กับควายตัวแรง ควายตัวรู้เป็นควายแก่มีประสบการณ์สูงในการไถนา รู้ภาษาชาวนาดี มันเดินและหยุด ทำตามคำสั่งของชาวนา ควายตัวนี้มีความรู้แต่ไม่มีแรงลากไถ ชาวนาจึงจับมาเทียมคู่กับควายอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่าควายตัวแรง มันเป็นควายหนุ่มที่มีแรงลากไถแต่ไม่รู้ภาษาชาวนา เมื่อชาวนาออกคำสั่งให้เดิน ควายตัวรู้จะขยับตัวออกเดิน ควายตัวแรงก็ออกแรงลากไถไปด้วยกัน การไถนาสำเร็จได้ด้วยการเทียมควายสองตัวคือตัวรู้กับตัวแรงเข้าด้วยกัน การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็ต้องมีทั้งตัวรู้และตัวแรง  #ตัวรู้คือความรู้ด้านศาสนา #ส่วนตัวแรงคือ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

                ถามว่า  เรื่องควายสองตัวนี้ ตัวไหนควรนำตัวไหน ?

ตอบว่า ควายตัวรู้ต้องนำควายตัวแรง นั่นคือ ศาสนาต้องกำกับการใช้ปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อป้องกันมิให้ปัญญาด้านนี้ถูกใช้ไปเพื่อการผลิตอาวุธทำลายโลก หรือแม้กระทั้งอาวุธคือปาก ความอิจฉาริษยา ศาสนาต้องพัฒนาคุณธรรมคือกรุณาให้มีพลังมากพอที่จะกำกับการใช้ปัญญาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดังนี้ท่านแต่งเป็นเป็นบทกลอน ชื่อว่า วัฒนธรรมควายคู่ ดังต่อไปนี้

หลักการสร้างคนรุ่นใหม่ให้สามารถ

ต้องรวมปราชญ์รวมศาสตร์ที่หลากหลาย

ทำงานร่วมรวมพลังทั้งใจกาย

เปรียบดังควายไถนาอยู่เคียงคู่กัน

ควายหนึ่งคือควายแรงเป็นควายรุ่น

ช่วยดันดุนหนุนแรงอย่างแข็งขัน

อุตสาหะมานะสร้างสารพัน

ร่วมผลักดันพร้อมเรียนรู้คู่องค์กร

อีกควายหรือคือควายเฒ่าเรียกควายรู้

 เปรียบดังครูผู้ชี้นำคำสั่งสอน

ประคับช่วยประคองให้ไม่สั่นคลอน

ดุจภัสสรส่องสว่างหนทางไกล

จึงต้องรวมพลังคู่มุ่งสู่หนึ่ง

สร้างควายซึ่งรู้คู่แรงแปลงพันธุ์ใหม่

เติมความรู้คู่หลักคิดเสริมจิตใจ

ควายพันธุ์ไทยก้าวไกลในสากล (พระพรหมบัณฑิต : ประยูร ธมฺมจิตฺโต ศ.ดร.)

อธิบายตามความหมายของบทกลอน เรากำลังเปลี่ยนวัฒนธรรมเก่าไปสู่ใหม่ สังคมเริ่มเปลี่ยนไปสู่การรับรู้ การเรียนรู้ที่กว้างขวาง จนแทบจะไร้ขอบเขต จนเป็นวัฒนธรรมใหม่ หากคนเก่า คนอาวุโสที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งเป็นผู้นำให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคนรุ่นใหม่ ทั้งให้คุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างให้ด้วย เพราะถือว่ามีประสบการณ์ ต้องคอยให้นโยบายให้ความคิด กำหนดทิศทางชีวิต คนรุ่นใหม่ก็เรียนรู้เหมือนกับการรับไม้ต่อ และร่วมกันเป็นแรงผลักดันสังคมที่เราเป็นอยู่ อาจรวมถึงประเทศ หรือศาสนาที่เป็นอยู่นี่  การเสี่ยมสอนของคนเก่าก็เหมือนกับควายรู้ ต้องนำคนหนุ่มสาวซึ่งเป็นควายแรงกลายเป็นตัวรู้ขึ้นมาให้ได้   คนรุ่นหลังจึงจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

               

มีความสุขทุกคนทุกท่าน

                เขียนโดย : พระมหาศราวุธ จิตฺตทนฺโต (น้อยนารี) ป.ธ.๙,ร.ม.

               

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เหรียญสมพร วัดเหล่าอ้อย

เหรียญสมพร
 
ครั้งแรกแห่งการสร้างเหรียญครูบาอาจารย์ ของวัดเหล่าอ้อย
          เนื่องจากการสร้างเหรียญสมพร ก็เพื่อปรารภเหตุ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อเป็นที่ระลึกงานปิดทองฝังลูกนิมิต และ ๒) เพื่อเป็นที่ระลึกครบรอบ ๖๐ ปี หลวงพ่อสมพร (ท่านเจ้าคุณพระสิริวุฒิเมธี เจ้าอาวาสวัดเหล่าอ้อย และเจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ)
 
พิธีพุทธาภิเษก
 
 
วันที่  5 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
หลวงพ่อสนธิ์  ปภสฺสโร วัดทุ่งพระมาอธิษฐานจิตที่พระอุโบสถส์ เวลา 09.09 น.
 
ก่อนพิธีพุทธาเษก เวลา 17.09 น. โดยครูบาอาจารย์ อาทิเช่น
 
 
 
หลวงพ่ออุตตมะ (เส็ง) วัดชนะชัยศรี
 
 
หลวงพ่อเกิ่ล วัดวิหารธรรม 
 

หลวงพ่อคำคูณ วัดคลองหาด  


หลวงพ่อสอน วัดโคกสะพานขาว
 
 
หลวงพ่อคูณ วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพฯ
 
 


                         เมื่อสร้างเสร็จก็ทำลายแม่พิมพ์ และให้มอบให้วัดเพื่อใช้ในการวัดเท่าที่มี และส่วนที่เหลือจากงานก็จะเก็บเป็นสมบัติวัด  ประโยค ๙ สร้าง ขอให้มีความก้าวหน้า และสมพรดังที่คิดและปรารถนา

ก้าวหน้าและสมพรดังชื่อเหรียญ (หลวงพ่อ) ทุกประกาาร พระมหาศราวุธ  จิตฺตทนฺโต ป.ธ.๙  ผู้สร้าง