วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวัดเหล่าอ้อย



เจ้าคุณอรัญฯ
วัดเหล่าอ้อย อรัญประเทศ สระแก้ว


ประวัติสังเขปวัดเหล่าอ้อย 
             วัดเหล่าอ้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๔ บ้านเหล่าอ้อย ถนนธนะวิถี หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีเนื้อที่ ๒๙ ไร่ ๖๐ ตารางวา โดยใบโฉนดชื่อของนางพงา จำปาเทศ เป็นผู้ถวายที่ดิน ปัจจุบันทางวัดซื้อเพิ่มอีก ๘ ไร่ เพื่อใช้ปลูกป่าปฏิบัติธรรม ในช่วงเข้าพรรษากาลของภิกษุและอุบาสก อุบาสิกา และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมประจำอำเภออรัญประเทศ

              ทำไมถึงชื่อว่า “เหล่าอ้อย”

              คำว่า “เหล่าอ้อย” ที่เรียกอย่างนี้ อาจเป็นเพราะเรียกตามลักษณะพื้นที่และอุปนิสัยของชาวบ้านอย่างหนึ่ง คือ บริเวณพื้นที่ของชุมชนนอกจากจะเป็นป่าดงหนาทึบแล้ว ยังมีพืชชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มากนั่นคือ อ้อยแขม หรืออ้อยป่า และต้นเลา ประกอบกับชาวบ้านเมื่อจะทำไร่ ทำนาบนที่บริเวณใด หรือปลูกเรือน ก็จะนิยมปลูกอ้อยไว้เป็นหย่อมๆ หรือชาวบ้านเรียกว่า “เป็นเลาๆ เป็นบุๆ” บนที่บริเวณนั้น เคยถามคนเฒ่าคนแก่ว่า “ทำไมจึงต้องปลูกอ้อยบนบริเวณอย่างที่กล่าวด้วย ? เพราะพืชอย่างอื่นก็มีเยอะที่จะให้ปลูก ? ก็ได้คำตอบว่า “ปลูกไว้ให้ลูกหลานกิน” เคยถามต่อไปอีกว่า “เด็กๆในสมัยนั้นกินอ้อยแทนของหวานใช่ไหม ? คนเฒ่าคนแก่ก็หัวเราะและตอบว่า “อาจจะใช่เพราะคนเฒ่าคนแก่นิยมปลูกไว้ ก็เลยทำตาม ใบอ้อยยังเอาไปแทนใบตองห่อข้าวต้มได้อีก น้ำอ้อยก็นำไปต้มทำเป็นน้ำตาลก้อนไว้กินไว้ขายได้อีก” จากคำบอกเล่าเหล่านี้ทำให้สันนิษฐานได้พอคร่าวๆว่า

        คำเล่าจากคนเก่าก่อน
            เมื่อบริเวณนี้มีต้นอ้อยแขมและต้นเลาขึ้นอยู่มากและชาวบ้านก็นิยมปลูกอ้อยไว้บนที่ลักษณะดังกล่าว พอชาวบ้านเลิกใช้ที่บริเวณนั้นทำไร่ ทำนา หรือย้ายครัวเรือนไปตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ ที่บริเวณนั้นจึงถูกทิ้งร้าง แต่อ้อยที่ปลูกทิ้งไว้ก็ยังขึ้นเองตามธรรมชาติ ชาวบ้านจึงเรียกที่ในลักษณะนี้ว่า “เลา” เหมือนกัน ซึ่งให้ความหมายว่า “ร้างไม่ใช้แล้ว” จึงใช้เรียกที่บริเวณนี้ว่า “เลาอ้อย” เพราะถามคนเฒ่าคนแก่ว่า “พอมาอยู่ที่นี่ใหม่ๆก็เรียก ‘เลาอ้อย เลยใช่ไหม ? ก็ได้คำตอบว่า “ก็เรียกมาตั้งแต่แรกเลย เพราะตอนย้ายมาญาติพี่น้องที่หนองสังข์ถามว่า ‘ไปอยู่ไหน’ ก็บอกเขาไปว่า ‘ไปอยู่เลาอ้อย’ อาจเป็นเพราะเรียกตามคนเฒ่าคนแก่พาเรียก” สรุปว่าที่เรียกว่า เลาอ้อย เพราะที่นี่เดิมทีมีอ้อยแขมและต้นเลาขึ้นอยู่มาก และบริเวณที่ๆ ชาวบ้านทำไร่ ทำนาและอยู่อาศัยส่วนใหญ่ก็เป็นที่ๆเป็น เลาๆ เป็นบุๆอีกทั้งยังมีอ้อยที่ปลูกทิ้งร้างไว้อีก ชุมชนแถบนี้จึงใช้เรียกตนเองว่า “เลาอ้อย” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ บ้านหินแร่ (ชื่อเดิมอำเภออรัญประเทศ)ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๗) จึงมีตำบลและหมู่บ้านขึ้น บริเวณนี้จึงถูกนำไปรวมกับ บ้านหนองสังข์ซึ่งเป็นบ้านเก่า ยกบ้านหนองสังข์ให้เป็นตำบลหนึ่งในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีน ในสมัยนั้นว่า ตำบลหนองสังข์ ชุมชนบ้านบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า “เหล่าอ้อย” ตามศัพท์ทางราชการ แทนคำว่า

                การเริ่มสร้างวัด

               การสร้างวัดเหล่าอ้อย เริ่มต้นจากความคิดริเริ่มของ ผู้ใหญ่เลียบ พงษ์สมร นายพวย ไชยฤทธิ์ นายสง่า บุญเดิม เนื่องจากบ้านเหล่าอ้อย แต่เดิมไม่มีวัดทำบุญ ชาวบ้านต้องเดินทางไกลไปทำบุญที่วัดหนองสังข์ (วัดเก่า) เพราะครัวเรือนชาวเหล่าอ้อยเอง ส่วนใหญ่ก็ย้ายมาจากบ้านหนองสังข์-หันทราย และหลายถิ่นฐานด้วยกัน เพราะปัญหาความอดอยาก แล่นแค้น อันเกิดจากภัยธรรมชาติความแห้งแล้งของฤดูกาล และปัญหาพื้นที่ชายแดนอันเกิดจากความไม่สงบ ความขัดแย้งภายในของประเทศกัมพูชาหลายต่อหลายครั้ง การรวมกลุ่มของชาวบ้านเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน จึงดำเนินไปอย่างไม่สม่ำเสมอ เมื่อเป็นดังนั้น ชาวบ้านจึงคิดสร้างวัดขึ้นเพื่อทำบุญและทำกิจกรรมร่วมกันในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ผนวกกับปลัดเลิศชัย จำปาเทศปลัดอำเภออรัญประเทศ ในสมัยนั้นได้จองที่ดิน และได้คืนให้กับผู้ใหญ่บ้าน ๆ ก็ได้ริเริ่มสร้างวัดและโรงเรียนแห่งใหม่ แทนโรงเรียนเก่าขึ้น โดยเป็นที่พักสงฆ์ก่อน ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน มีการบริจาคเสา ๕ หลังคาเรือน ต่อ ๑ ต้น บริจาคหลังคาเรือนละ ๕๐ บาท เพื่อสร้างศาลาการเปรียญ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ก็ช่วยกันสร้างกฏิสงฆ์ขึ้น เพื่อให้พระภิกษุได้จำพรรษาในพรรษากาล ในช่วงเริ่มแรก มีพระภิกษุจำพรรษา ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ก็พอได้เทศนาสั่งสอนชาวบ้านให้เข้าใจในเรื่องศาสนพิธีและหลักคำสอนพระพุทธศาสนาบ้าง เพราะยังเป็นบ้านใหม่ วัดใหม่ ในช่วงเริ่มต้น ต่อมามีการสร้าง หอฉัน เมรุ กุฏิสงฆ์ เพิ่มเติมขึ้น ประกอบกับชาวบ้านเหล่าอ้อยเองก็มีครัวเรือนขยายเพิ่มเติมขึ้น 

       เจ้าอาวาสและวิสุงคามสีมา


               เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๒
ที่พักสงฆ์เหล่าอ้อย ถูกยกขึ้นเป็นวัดจากกรม
การศาสนา มหาเถรสมาคม และได้รับพระราช
ทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นวัดราษฎร์ และมีลำดับเจ้าอาวาส
วัดเหล่าอ้อยขึ้นตั้งแต่นั้นมา


            ลำดับเจ้าอาวาส
 รูปที่ ๑.  พระครูวุฒิวรธรรม (ปา ปาสโก) พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๔๓ (ปัจจุบันมรณภาพ)
 รูปที่ ๒.  พระสิริวุฒิเมธี (สมพร กนฺตาโภ ป.ธ. ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓ – จนถึงปัจจุบั
           ตำแหน่งการปกครอง เจ้าคณะอำเภออรัญประเทศ พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๖๐
                                                  รองเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. ๒๕๖๐ - ปัจจุบัน
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น